fbpx

สัตว์เลี้ยงสุนัขหมาแมว

สิ่งที่ใช้พิจารณาในการพาแมวและสุนัขท้องเสียมาหาหมอ ได้แก่ อายุ ความถี่ของการถ่าย และสีของอุจจาระ เป็นต้น ซึ่งหากพบการถ่ายเหลว มีคำแนะนำในการรักษาเบื้องต้น ดังนี้
แมวและสุนัขท้องเสียแบบไหน ควรรีบพาไปพบหมอด่วน_dogs-cats-diarrhea-vets

เจ้าของสัตว์: “หมอคะ…แค่ท้องเสียนี่ถึงตายเลยเหรอ ?”

เจ้าของบางคนอาจมองว่า การถ่ายเหลวของน้องหมาน้องแมวเป็นเรื่องเล็ก ๆ เพราะยังเห็นน้องร่าเริงดี ไม่นานก็คงหายป่วยไปเอง แต่จริง ๆ แล้วปัญหาแมวและสุนัขท้องเสียมีความน่ากังวลพอสมควร เพราะจะมีการสูญเสียน้ำและสารอาหารออกจากร่างกายทุกครั้งที่เกิดการขับถ่าย ดังนั้นหากสัตว์เลี้ยงมีการถ่ายเหลวเป็นเวลานาน ก็มีโอกาสที่ร่างกายจะขาดน้ำจนถึงแก่ชีวิตได้

สิ่งต่อไปนี้ใช้ตัดสินแมวและหมาท้องเสีย

เพื่อให้เจ้าของสามารถตัดสินใจได้ว่า…ควรพาน้องมาพบสัตวแพทย์หรือไม่ และการท้องเสียของสัตว์อยู่ในขั้นวิกฤติแค่ไหน มารู้จักกับปัจจัยที่ส่งผลให้สัตว์เลี้ยงเกิดภาวะท้องเสียอย่างรุนแรงกัน

1. อายุของแมวและหมามีผลต่อการท้องเสีย

1A_แมวและสุนัขท้องเสียแบบไหน ควรรีบพาไปพบหมอด่วน_dogs-cats-diarrhea-vets

ลูกสัตว์หรือสัตว์ที่อายุเยอะ มักทนต่อการสูญเสียน้ำและแร่ธาตุจากการท้องเสียได้ไม่นานมาก โดยเฉพาะน้องหมาน้องแมวที่มีน้ำหนักไม่ถึง 1 กิโลกรัม แค่ท้องเสียหรืออาเจียนเพียงไม่กี่ครั้ง ก็สามารถทำให้อาการทรุดลงได้ ดังนั้นเจ้าของไม่ควรประมาทกับช่วงวัยดังกล่าว หากพบการถ่ายเหลวควรรีบพาไปพบคุณหมอทันที

2. ความถี่ของการถ่ายเหลว หรือการอาเจียนของสัตว์เลี้ยง

2A_แมวและสุนัขท้องเสียแบบไหน ควรรีบพาไปพบหมอด่วน_dogs-cats-diarrhea-vets

เพื่อให้เจ้าของสามารถประเมินอาการของสัตว์เลี้ยงได้ในเบื้องต้น การนับความถี่ของการถ่ายเหลวหรืออาเจียนต่อวัน จะเป็นหนึ่งในวิธีการเพื่อใช้ในการตัดสินใจพาน้องหมาน้องแมวมาพบคุณหมอ ได้แก่ 

  • สัตว์เลี้ยงถ่ายอุจจาระหรืออาเจียนมากกว่า 3 ครั้ง ภายใน 4 ชั่วโมง 
  • ท้องเสียมากกว่า 5 ครั้งต่อวัน 

***การนับจำนวนครั้ง จะต้องนับเฉพาะกรณีที่มีการท้องเสียหรืออาเจียนพร้อมกับมีเศษอาหารหรือน้ำย่อยติดออกมาเท่านั้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วการอาเจียนมักทำให้สัตว์เลี้ยงมีอาการทรุดลงได้มากกว่าภาวะท้องเสีย แต่หากเจ้าของพบว่าน้องหมาน้องแมวมีอาการไม่ดี แม้ว่าจะยังไม่อยู่ในเกณฑ์ของระดับความรุนแรง แนะนำให้รีบพาไปพบคุณหมอทันที 

3. แมวและหมาท้องเสียแบบมีเลือดปน

3A_แมวและสุนัขท้องเสียแบบไหน ควรรีบพาไปพบหมอด่วน_dogs-cats-diarrhea-vets

การถ่ายเหลวปนเลือด จะทั้งแบบที่เกิดจากการติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ แต่หากเกิดจากกรณีแรกและมีการเลี้ยงสัตว์ในบ้านรวมกันหลายตัว มีโอกาสที่โรคจะเกิดการติดต่อไปยังสัตว์เลี้ยงตัวอื่น ๆ ได้ เช่น โรคลำใส้อักเสบในสุนัข หรือไข้หัดในแมวซึ่งทั้งสองโรคนี้เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ดังนั้นหากพบว่ามีน้องหมาน้องแมวถ่ายเหลวปนเลือด แนะนำให้เจ้าของแยกสัตว์ป่วยออกจากสัตว์เลี้ยงตัวอื่น ๆ ในบ้านเพื่อป้องกันการติดต่อของโรค

4. สัตว์เลี้ยงเบื่ออาหารมากกว่า 2 วันขึ้นไป

4A_แมวและสุนัขท้องเสียแบบไหน ควรรีบพาไปพบหมอด่วน_dogs-cats-diarrhea-vets

ในช่วงต้นของการท้องเสีย เจ้าของอาจพบว่าน้องหมาน้องแมวมีอาการเบื่ออาหาร ซึ่งในวันแรก ๆ ของการหยุดกินอาหารจะยังไม่มีผลเสียต่อร่ายกายมากนัก แต่หากน้องไม่ยอมกินอะไรเข้าไปเลยมากกว่า 2 วัน จะเกิดการฝ่อตัวของวิลไล (Villi) ซึ่งอยู่ที่ผนังลำไส้ ทำให้การดูดซึมสารอาหารเกิดขึ้นไม่ได้ ส่งผลให้ร่างกายของสัตว์ทรุดโทรมลงไป

5. เมื่อสัตว์ท้องเสีย มักพบอาการปวดเกร็งช่องท้องร่วมด้วย

5A_แมวและสุนัขท้องเสียแบบไหน ควรรีบพาไปพบหมอด่วน_dogs-cats-diarrhea-vets

เนื่องจากน้องหมาน้องแมวไม่สามารถพูดบอกเราได้ ดังนั้นเจ้าของสามารถสังเกตความผิดปกติของสัตว์เลี้ยงโดยดูจากท่าทางการนอน ซึ่งสัตว์ที่มีอาการปวดท้องมักจะนอนขดตัวหรือเหยียดขาร้องคราง และมักนอนทั้งวันเนื่องจากความเจ็บปวด เมื่อกดลงไปยังบริเวณท้องของสัตว์จะพบการเกร็งท้องสู้กับนิ้วมือ หรือมีเสียงคล้ายแก๊สอยู่ภายในช่องท้อง หากเจ้าของพบความผิดปกติดังกล่าว แนะนำให้รีบพาไปโรงพยาบาลทันที เพราะอาการเหล่านี้อาจอันตรายถึงชีวิตน้องได้

6. แมวและหมาท้องเสียจะทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้

6A_แมวและสุนัขท้องเสียแบบไหน ควรรีบพาไปพบหมอด่วน_dogs-cats-diarrhea-vets

เมื่อสัตว์เกิดการท้องเสียหรืออาเจียนอย่างรุนแรง พบว่าร่างกายจะมีการสูญเสียน้ำออกมาปริมาณมาก เจ้าของสามารถทดสอบว่าน้องหมาน้องแมวมีภาวะขาดน้ำหรือไม่ ด้วยการดึงหนังบริเวณคอของสัตว์ซึ่งหากมีปัญหาขาดน้ำ จะพบว่าหนังคอที่ดึงขึ้นมายังคงตั้งชันค้างไว้ กรณีนี้แนะนำให้เจ้าของรีบพาน้องไปหาคุณหมอเพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำ ซึ่งสัตว์เลี้ยงไม่สามารถฟื้นฟูได้ด้วยตัวเอง แม้จะเพิ่มปริมาณการดื่มน้ำเข้าไปเท่าไหร่ก็ตาม

การรักษาเบื้องต้นสำหรับแมวและหมาท้องเสีย กรณีไม่สะดวกพาไปหาหมอ

บางครั้งเราพบว่า น้องป่วยในช่วงเวลาที่โรงพยาบาลปิดแล้ว ทำให้ต้องรอข้ามวันเพื่อพาสัตว์ไปหาคุณหมอ คำแนะนำเบื้องต้นเพื่อให้เจ้าของประคับประคองอาการได้มีดังนี้

1. งดน้ำงดอาหารสัตว์ท้องเสีย

โดยเฉพาะในกรณีที่มีอาการอาเจียนร่วมด้วย ให้รีบงดน้ำและอาหารโดยทันที เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้สัตว์มีอาการอาเจียนมากยิ่งขึ้น 

2. ทดลองให้อาหารปริมาณเล็กน้อย หลังจากอาการท้องเสียเริ่มดีขึ้น

หลังจากงดน้ำงดอาหารมาระยะนึงแล้ว (ประมาณ 12-24 ชั่วโมง) สัตว์ไม่แสดงอาการอาเจียนหรือท้องเสียออกมาอีก ให้ทดลองป้อนอาหารให้น้องกิน โดยเริ่มจากปริมาณอาหารไม่มาก (25% ของอาหารมื้อปรกติ) แล้วค่อย ๆ เพิ่มปริมาณจนเต็มที่ในมื้อถัดไป

กรณีอาการอาเจียนยังคงมีอยู่ภายหลังงดน้ำงดอาหารแล้ว เจ้าของไม่จำเป็นต้องบังคับให้สัตว์กินอาหารหรือน้ำเข้าไปอีก แต่ให้หาพลังงานบางอย่างมาเสริมทดแทนมื้ออาหาร เพื่อไม่ไห้น้องขาดพลังงานมากจนเกินไป การใช้น้ำผึ้งป้ายที่กระพุ้งแก้มสัตว์ถือเป็นหนึ่งในวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เนื่องจากน้ำผึ้งมีพลังงานสูงและยังสามารถดูดซึมเข้าร่างกายได้อย่างรวดเร็ว จึงเหมาะแก่การให้สัตว์ป่วยได้กิน ไม่แนะนำให้ป้อนนมน้องหมาน้องแมว เนื่องจากนมย่อยยาก ทำให้ยิ่งกระตุ้นการอาเจียนออกมามากยิ่งขึ้น

หมอหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับเจ้าของ หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามมาทางเว็บไซต์ได้ เรามีบริการปรึกษาสัตวแพทย์ออนไลน์ หรือแอดไลน์ @deemmipet เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้

Share
Picture of นสพ. อนรรฆ เกรียงศิริ

นสพ. อนรรฆ เกรียงศิริ

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โปรโมชั่น

สอบถามบริการ แอดเลย

บทความแนะนำ

แมว
แมว
แมวสุดป่วนกับพฤติกรรมชวนสงสัย เหล่าบรรดาทาสแมวคงเคยโดนเจ้าเหมียวเมินใส่บ้างแหละ แต่ไม่ต้องกังวล
สัตว์เลี้ยงสุนัขหมาแมว
สัตว์เลี้ยงสุนัขหมาแมว
เรียนรู้วิธีสังเกตอาการโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกัน และรับมือเมื่อสงสัยว่าติดเชื้อ
สุนัขหมา
สุนัขหมา
อาบน้ำให้น้องหมาทีไร วุ่นวายทุกที! มาดู