fbpx

สัตว์เลี้ยงสุนัขหมาแมว

เรียนรู้วิธีสังเกตอาการโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกัน และรับมือเมื่อสงสัยว่าติดเชื้อ โรคนี้แม้ร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต แต่สามารถป้องกันได้ และส่วนใหญ่มักติดต่อผ่านสัตว์อื่น
9 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า_dogs-rabies-disease

1. โรคพิษสุนัขบ้า คืออะไร

โรคพิษสุนัขบ้าหรือบางคนเรียกว่า “โรคหมาบ้า” เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า (Rabies virus) ซึ่งส่งผลต่อสมองและไขสันหลัง ทำลายระบบประสาทส่วนกลางเกือบ 100% ดังนั้นสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อจะเสียชีวิตเมื่อแสดงอาการของโรคแล้ว ทั้งนี้โรคพิษสุนัขพบได้ในทุกทวีปยกเว้นแอนตาร์กติกา โดยกว่า 95% ของการเสียชีวิตจะเกิดขึ้นในแอฟริกาและเอเชียเป็นหลัก

จากสถิติของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าประมาณ 55,000-70,000 รายต่อปีทั่วโลก ส่วนในประเทศไทยมีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ประมาณ 10 รายต่อปี  ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 95% มักเกิดจากการโดนสุนัขบ้ากัด 

ดังนั้นโรคพิษสุนัขบ้าถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขร้ายแรง ที่ส่งผลกระทบต่อทั้งสัตว์เลี้ยงที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน รวมถึงสัตว์จรจัดในประเทศไทย โดยมีรายงานพบว่า 87% ของเคสติดเชื้อพิษสุนัขบ้าที่ระบาดบริเวณอำเภอปราณบุรีเกิดขึ้นในสุนัข โดยส่วนใหญ่เป็นสุนัขจรจัดหรือสุนัขชุมชน ดังนั้นการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึงและการควบคุมสุนัขจรจัดจึงเป็นสิ่งสำคัญในการลดการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า

2. สัตว์ชนิดไหน ที่สามารถเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้_which animals can be rabies

2. สัตว์ชนิดไหน ที่สามารถเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้

โรคนี้ไม่ได้เจาะจงแค่ในสุนัขเหมือนกับชื่อ จริง ๆ แล้วยังมีสัตว์อีกหลายชนิดที่สามารถเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้ เช่น แมว ม้า ลิง หรือแม้แต่สัตว์ฟันแทะอย่างหนู กระรอก ก็มีรายงานการเกิดโรคได้เช่นกัน เพราะเชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด แต่พบมากที่สุดในสุนัข ซึ่งน่าจะเป็นที่มาของการตั้งชื่อโรคนั่นเอง

3. ถ้าโดนสัตว์กัด จะมีโอกาสเป็นโรคพิษสุนัขบ้าเลยมั้ย

ไม่ใช่ทุกกรณีที่โดนกัดแล้วจะเป็นโรคพิษสุนัขบ้า เพราะถ้าสัตว์ที่กัดไม่ได้มีเชื้อไวรัสชนิดนี้ก็ไม่มีโอกาสเป็นโรค แต่หากเราไม่มั่นใจว่าสัตว์นั้นมีเชื้อหรือไม่ เช่น บังเอิญโดนกัดจากหมาจรจัด ก็ให้คิดไว้ก่อนว่าสัตว์อาจมีเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกาย

สำหรับการติดเชื้อพิษสุนัขบ้าในสัตว์เลี้ยง เกิดได้จาก

  1. สัมผัสน้ำลายของสัตว์ป่าที่ติดเชื้อ เช่น ค้างคาว แรคคูน หรือสุนัขจิ้งจอก 
  2. ถูกสุนัขหรือแมวจรจัดที่ติดเชื้อกัดหรือข่วน 
  3. สัตว์เลี้ยงไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างเหมาะสม

4. ตำแหน่งของการโดนกัด จะมีผลต่อของการเกิดโรคพิษสุนัขบ้ามั้ย

หากโดนกัดและมั่นใจว่าสัตว์มีเชื้อไวรัสชนิดนี้อยู่ ทุกตำแหน่งของร่างกายมีโอกาสทำให้เชื้อแพร่กระจายจนก่อให้เกิดโรคพิษสุนัขบ้าได้ทั้งหมด ซึ่งโดยปกติแล้ว หลังจากสัมผัสกับไวรัส เชื้อจะฟักตัวโดยเฉลี่ยประมาณ 1-3 เดือนก่อนที่อาการจะปรากฏ อย่างไรก็ตามระยะฟักตัวอาจสั้นเพียง 10 วัน หรือนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่โดนกัด โดยระยะฟักตัวจะสั้นลง เมื่อรอยกัดอยู่ใกล้กับสมองมากยิ่งขึ้น

3 ระยะหลักที่สัตว์เลี้ยงจะแสดงอาการของโรคพิษสุนัขบ้า_3 periods animal will show symtoms of rabies

5. สัญญาณที่บอกว่า สัตว์เลี้ยงอาจเป็นโรคพิษสุนัขบ้ามีอะไรบ้าง

ในสัตว์ที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า การแสดงอาการของโรคจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบก้าวร้าวและแบบเซื่องซึม ซึ่งหลายคนมักเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า โรคพิษสุนัขบ้าสัตว์จะต้องก้าวร้าว ดุร้าย เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

สำหรับอาการหลัก ๆ ของโรคพิษสุนัขบ้า จะแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ

5.1 ระยะอาการนำ ซึ่งมักกินเวลาประมาณ 2-3 วัน สัตว์จะแสดงพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น เบื่ออาการ เหงา หลบมุม เป็นต้น

5.2 ระยะตื่นเต้น ช่วงนี้สัตว์จะแสดงอาการทางประสาทออกมาให้เห็น เช่น ควบคุมน้ำลายไม่ได้ ตัวแข็งเกร็ง หรือพบอาการดุร้ายเข้ากัดสิ่งของที่ขวางหน้า ระยะนี้พบได้ตั้งแต่ 1-7 วัน

5.3 ระยะอัมพาต เป็นระยะสุดท้ายก่อนสัตว์เสียชีวิต โดยสัตว์จะเกิดอาการอัมพาตทั่วร่างกายและตายภายใน 24 ชั่วโมง

หากเจ้าของไม่แน่ใจเกี่ยวกับช่วงเวลาที่ได้รับเชื้อของสัตว์เลี้ยง อาจใช้วิธีสังเกตพฤติกรรมของน้องหมาน้องแมวซึ่งมักจะเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน เช่น จากที่เคยเป็นมิตร เชื่อง ก็อาจกลายเป็นก้าวร้าวแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน มีการจู่โจมเข้ากัดคนที่เข้าหา หรือกระสับกระส่าย กังวล และหงุดหงิดมากขึ้น นอกจากนี้สัตว์ที่ติดเชื้อแบบ “ก้าวร้าว” จะมีความอยากอาหารมากผิดปกติอีกด้วย

อีกหนึ่งสัญญาณที่สามารถสังเกตได้ คือ สัตว์จะมีน้ำลายไหลยืดหรือเป็นฟองบริเวณรอบ ๆ ปาก ทำให้การกลืนอาหารดูลำบากมากขึ้น ซึ่งในบางครั้งเจ้าของจะเห็นว่าน้องอาจทำท่าขย้อนอาหาร หรือสำลัก เวลาพยายามกินหรือดื่มน้ำ คล้าย ๆ กับน้องมีอาการกลัวน้ำนั่นเอง

อาการทางระบบประสาทอีกอย่างที่พบคือ อาการชักและอัมพาต ซึ่งจะเริ่มแสดงให้เห็นในช่วงท้าย ๆ ของโรค เจ้าของจะสังเกตได้ว่า น้องจะเริ่มมีอาการกล้ามเนื้อกระตุก การทรงตัวที่ผิดปกติ และการส่งเสียงร้องแปลก ๆ ซึ่งถือเป็นสัญญาณของการที่ไวรัสเข้าสู่สมองเรียบร้อยแล้ว

หากพบสัญญาณดังกล่าวข้างต้น ให้พิจารณาว่าสัตว์อาจจะติดเชื้อพิษสุนัขบ้าได้ ในกรณีนี้ ให้แยกสัตว์เลี้ยงออกในทันที และรีบพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อประเมินอาการ

6. ในคน อาการของโรคพิษสุนัขบ้าเหมือนกับในสัตว์หรือไม่

สำหรับในคนนั้นมักพบแสดงอาการประเภทก้าวร้าวคล้ายกับในสัตว์ และหากพบว่าเชื้อไวรัสเริ่มกระจายเข้าสู่ไขสันหลัง จะมีอาการของการเกิดอัมพาตได้

7. หากสงสัยว่าสัตว์เลี้ยงติดเชื้อพิษสุนัขบ้า ต้องทำอย่างไร_How to manage animals infected rabies

7. หากสงสัยว่าสัตว์เลี้ยงติดเชื้อพิษสุนัขบ้า ต้องทำอย่างไร

หากสัตว์เลี้ยงแสดงอาการของโรคพิษสุนัขบ้า หรือมีประวัติสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อ สิ่งแรกที่เจ้าของควรทำมีดังนี้ 

  1. ต้องแยกสัตว์เลี้ยงออกมาในทันที และรีบติดต่อสัตวแพทย์รวมถึงหน่วยงานสาธารณสุขในท้องถิ่นโดยด่วน อย่าพยายามเข้าไปจับตัวน้อง หรือทำการรักษาสัตว์เลี้ยงด้วยตัวเอง เพราะโรคพิษสุนัขบ้าสามารถติดต่อสู่คนได้ ผ่านการสัมผัสน้ำลายที่ติดเชื้อ
  2. หาวิธีพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน เพื่อตรวจร่างกาย ประเมินอาการ และพิจารณาว่า จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อพิษสุนัขบ้าหรือไม่  จากนั้นสัตวแพทย์มีหน้าที่ต้องแจ้งข้อสงสัยเกี่ยวกับกรณีที่อาจจะติดเชื้อพิษสุนัขบ้าต่อกรมสาธารณสุขตามข้อกำหนด
  3. อย่าลืมแจ้งหน่วยงานสาธารณสุขท้องถิ่น แม้ว่าจะยังรอผลการตรวจเชื้ออยู่ เพื่อหาแนวทางเกี่ยวกับการกักกันโรคของสัตว์เลี้ยง รวมถึงการประเมินว่ามีบุคคลใดบ้างที่สัมผัสกับสัตว์และอาจจะต้องได้รับการรักษา
  4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำลายของสัตว์เลี้ยง และไม่เข้าใกล้น้องในช่วงสังเกตอาการและเฝ้ารอผลตรวจเชื้อ เพื่อป้องกันการถูกกัดหรือข่วน หากจำเป็นต้องจับตัวสัตว์เลี้ยงจริง ๆ ให้สวมถุงมือหนา ๆ และหน้ากากอนามัย ควรแยกบริเวณกักขังหมาหรือแมวที่ต้องสงสัยไว้ในพื้นที่ปลอดภัย เช่น กรงสำหรับพกพาหรือห้องน้ำ และจำกัดผู้ที่สามารถเข้าไปดูแลให้เหลือเพียงคนเดียวเพื่อคอยให้อาหารและน้ำ

 

การดำเนินการอย่างรวดเร็วหากสงสัยว่าสัตว์เลี้ยงติดเชื้อพิษสุนัขบ้า จะช่วยปกป้องทั้งตัวเราและครอบครัวให้ปลอดภัยจากโรคอันตรายนี้ได้ 

8. โรคพิษสุนัขบ้ามีวิธีรักษาให้หายขาดหรือไม่_Can we cure animals with rabie disease

8. โรคพิษสุนัขบ้ามีวิธีรักษาให้หายขาดหรือไม่

ในปัจจุบันยังไม่มีทางรักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้  ซึ่งจากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) ระบุว่า โรคพิษสุนัขบ้าทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงของสมองและไขสันหลัง ดังนั้นเมื่อสัตว์เริ่มแสดงป่วย โรคนี้จะมีอัตราการตายเกือบ 100%

แม้ว่าจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การให้ยาเพื่อบรรเทาอาการโดยสัตวแพทย์ ก็ช่วยให้สัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อลดความเจ็บปวดลงได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากโรคนี้เป็นอันตรายต่อสาธารณสุข ดังนั้นหากสุนัขแสดงอาการของโรคพิษสุนัขบ้า วิธีที่มักจะแนะนำคือการการุณยฆาต 

5 วิธีป้องกันสัตว์เลี้ยงจากเชื้อพิษสุนัขบ้า ทำได้อย่างไรบ้าง

1. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้สัตว์เลี้ยงตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ วัคซีนจะช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์เลี้ยงและสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรค

2. ควบคุมดูแลสัตว์เลี้ยง ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงออกไปนอกบ้าน โดยไม่มีการควบคุมดูแล หากอยากพาน้องออกไปเดินเล่น ควรจูงสุนัขด้วยสายจูงเสมอเมื่ออยู่นอกบ้าน เพื่อป้องกันการสัมผัสกับสัตว์ที่อาจติดเชื้อ

3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่า สัตว์ป่าจัดเป็นหนึ่งในพาหะนำโรคพิษสุนัขบ้า ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้และสัมผัสกับสัตว์ป่า

4. สังเกตอาการของโรคพิษสุนัขบ้า อาการของโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เลี้ยง ได้แก่ ไข้ ซึม อ่อนเพลีย อาเจียน ท้องเสีย น้ำลายไหล กลืนลำบาก ชัก และอัมพาต หากสัตว์เลี้ยงแสดงอาการเหล่านี้ ให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที

5. แจ้งเจ้าหน้าที่ หากสงสัยว่าสัตว์เลี้ยงถูกสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดหรือข่วน ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์หรือหน่วยงานควบคุมโรคในพื้นที่ทันที

บทสรุป

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ถึงแก่ชีวิต แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่า นอกจากนี้หากเจ้าของสังเกตเห็นอาการของโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เลี้ยง ให้รีบทำการแยกน้อง ๆ ออกมาทันทีและติดต่อกับสัตวแพทย์โดยด่วน อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะไม่มีวิธีการรักษาโรคนี้ แต่การจัดการกับปัญหาอย่างรวดเร็วก็สามารถป้องกันการแพร่เชื้อของโรคนี้ได้  ควรใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่งเมื่ออยู่ใกล้สัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า

หมอหวังว่าบทความนี้ จะเป็นประโยชน์กับเจ้าของในการสังเกตความผิดปกติของอาการโรคพิษสุนัขบ้า หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามมาทางเว็บไซต์ได้ เรามีบริการปรึกษาสัตวแพทย์ออนไลน์ หรือแอดไลน์ @deemmipet เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้

Share
Picture of สพ.ญ. จันทร์จรัส ปิยะพรมดี

สพ.ญ. จันทร์จรัส ปิยะพรมดี

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โปรโมชั่น

สอบถามบริการ แอดเลย

บทความแนะนำ

สุนัขหมา
สุนัขหมา
ใครว่าหมาซนไม่มีเสน่ห์? มาทำความรู้จักกับ 5 สายพันธุ์สุนัขสุดแสบ ที่จะมาเขย่าหัวใจคุณด้วยความน่ารัก ขี้เล่น และซุกซนของพวกเขา พร้อมเผยเคล็ดลับในการรับมือกับเจ้าตัวแสบให้กลายเป็นหมาแสนรัก!
แมว
แมว
แมวไทยมงคล สุดยอดสัตว์เลี้ยงเสริมโชค ดึงดูดเงินทอง หากคุณชื่นชอบแมวไทย และกำลังมองหาสัตว์เลี้ยงนำโชค ต้องไม่พลาด! พบกับความเชื่อโบราณที่ว่าบางสายพันธุ์แมวไทยช่วยเสริมโชคลาภ ดึงดูดเงินทอง และนำพาความร่ำรวยมาสู่ผู้เลี้ยง...
แมว
แมว
แมวสุดป่วนกับพฤติกรรมชวนสงสัย เหล่าบรรดาทาสแมวคงเคยโดนเจ้าเหมียวเมินใส่บ้างแหละ แต่ไม่ต้องกังวล พฤติกรรมเหล่านั้นอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการดูแลตัวเอง ความต้องการเป็นส่วนตัว หรือแม้กระทั่ง...แอบงอนเพื่อเรียกร้องความสนใจ! มาไขความลับของเจ้าขนฟูไปด้วยกัน