แมว

2 โรคหลักที่พบได้บ่อยในแมวคือ โรคหัดแมวและหวัดแมว มารู้จักสาเหตุของโรค อาการที่แสดงให้เห็น และวิธีการป้องกัน เพื่อให้น้องแมวรอดชีวิตกันเถอะ
โรคหัดแมว และหวัดแมว 2 โรคฮิตหน้าหนาวของเจ้าเหมี่ยว_cats-diseases-flu-parvovirus-winter

เดี่ยวหนาวเดี่ยวร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงปลายปีที่อากาศมักจะเย็นลงอย่างฉับพลัน สัตว์เลี้ยงของเราก็มีโอกาสเจ็บไข้ได้ป่วยง่ายขึ้น เนื่องจากปรับตัวไม่ทันกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้เจ้าของสามารถสังเกตเห็นความผิดปกติได้ไว วันนี้หมอจึงอยากชวนคุยเกี่ยวกับโรคสำคัญของน้องแมวที่มักมากับลมหนาว และแนวทางการดูแลสัตว์เลี้ยงในช่วงอากาศเย็น

หน้าหนาวเกี่ยวอะไรกับ...หัดแมวและหวัดแมว

ก่อนอื่นเพื่อน ๆ รู้มั้ยคะ ทำไมฤดูหนาว…แมวถึงป่วยง่ายขึ้น ???

อย่างแรกเลยต้องบอกว่า เพราะอากาศเย็นส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค ทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย อุณหภูมิที่ต่ำลงจะช่วยให้เชื้อมีความสามารถในการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้ง่ายขึ้น และช่วยให้เชื้อคงทนอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น นอกจากนี้สุขภาพของน้องแมวในช่วงอากาศเย็นจัดก็สำคัญ เพราะหากไม่ได้รับการดูแลในเรื่องความอบอุ่นที่เพียงพอ  เช่น ไม่ได้สวมเสื้อผ้าให้ความอบอุ่น ไม่ได้ให้อาหารที่มีสารอาหารเพียงพอ หรือไม่ได้ทำวัคซีนป้องกันโรคให้น้องแมวไว้ก่อน ก็มีโอกาสที่น้องแมวจะป่วยและล้มตายได้เมื่อได้รับเชื้อโรค เนื่องจากร่างกายอ่อนแอจากสภาพอากาศ

ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว นอกจากการจัดการด้านความอบอุ่นที่หมอพูดถึง เจ้าของควรเฝ้าระวังโรคฮิตติดเชื้อในแมว ซึ่งจะมีโอกาสทำให้น้องป่วยได้ง่าย หลัก ๆ มีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มอาการหวัดแมว (Cat Flu , Feline Infectious Respiratory Disease)
  • โรคหัดแมว (Feline Parvovirus Enteritis , Feline Panleukopenia) 

1. กลุ่มอาการโรคหวัดแมว (Cat Flu , Feline Infectious Respiratory Disease)

“หวัดแมว” ถือเป็นกลุ่มโรคที่มาเป็นอันดับหนึ่งในช่วงอากาศหนาวเย็น สำหรับเชื้อที่ทำให้แมวแสดงอาการเป็นหวัดมีทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย หรือในบางกรณีเป็นการติดเชื้อทั้ง 2 ชนิดร่วมกัน เชื้อโรคในกลุ่มนี้มีการแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วไปตามอากาศ แมวที่ป่วยด้วยโรคหวัดจะมีอาการและความรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละตัว ขึ้นอยู่กับสุขภาพของแมวและชนิดของเชื้อที่ก่อโรค ซึ่งมีดังต่อไปนี้

1.1 โรคหวัดแมว Feline Herpesvirus (FHV-1)

1A_โรคหัดแมว และหวัดแมว 2 โรคฮิตหน้าหนาวของเจ้าเหมี่ยว_cats-diseases-flu-parvovirus-winter

ตัวอย่างภาพ: ภาพแสดงแมวที่เป็นหวัดแมว มีอาการเยื่อตาแดงอักเสบ และมีน้ำตาไหล 

แหล่งอ้างอิง: CAT FLU – UPPER RESPIRATORY INFECTION

เป็นเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มโรคหวัดแมว โดยแมวจะแสดงอาการ

  • ระยะแรกของการป่วย แมวจะมีไข้ จาม ซึ่งจะเพิ่มความถี่ขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงวันที่ 2-5 แมวจะเริ่มมีน้ำมูก และพบน้ำตาใส ๆ อยู่รอบดวงตาทั้ง 2 ข้าง น้ำมูกที่ใสจะกลายเป็นขี้มูกข้นอุดตันช่องจมูก ทำให้หายใจลำบาก
  • ระยะการป่วยต่อมา จะพบอาการตาอักเสบ ซึ่งจะรุนแรงขึ้นจนมองเห็นเยื่อตาบวมแดงชัดเจน และในแมวบางตัวอาจเกิดเนื้อตายของกระจกตา (เนื้อเยื่อสีดำบนตา) เสียงร้องเปลี่ยนไปหรือไม่มีเสียง แมวป่วยมักมีน้ำลายไหลยืดตลอดเวลา 

ในตลาดตอนนี้ชามข้าวน้องหมาจะมีทั้งแบบพลาสติกและสแตนเลส Deemmi ขอแนะนำว่าให้ใช้เป็นชามสแตนเลส เพราะมีความทนทานและทำความสะอาดง่ายมาก ก่อนเลือกซื้อควรนึกถึงขนาดด้วยนะ ว่าสามารถใส่อาหารได้เพียงพอหรือไม่ และความลึกของชามเหมาะสมกับโครงหน้าของน้องหมาหรือไม่ เพราะเวลาน้องหมากินข้าวจะได้ไม่ลำบาก ที่สำคัญควรมีทั้งหมด 2 ใบ สำหรับใส่ข้าวและน้ำแยกกัน เพื่อสุขอนามัยที่ดีของน้องหมาและการทำความสะอาดที่ง่ายกับคนเลี้ยง

สำหรับแมวที่ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ เมื่อหายป่วยแล้วจะกลายเป็นตัวอมโรคไปตลอดชีวิต (เชื้อจะไปหลบอยู่ในปมประสาท) ดังนั้นเวลาที่แมวเกิดความเครียดหรือภูมิคุ้มกันตก จะพบว่าแมวกลับมาแสดงอาการของหวัดแมวได้อีกเป็นระยะ ๆ ไปตลอดชีวิต

1.2 โรคหวัดแมว Feline Calicivirus ( FCV )

2A_โรคหัดแมว และหวัดแมว 2 โรคฮิตหน้าหนาวของเจ้าเหมี่ยว_cats-diseases-flu-parvovirus-winter

ตัวอย่างภาพ: ภาพแสดงแผลหลุมที่ลิ้นของแมวที่ติดเชื้อ Feline Calicivirus (FCV) 

แหล่งอ้างอิง: Feline calicivirus infection

เชื้อไวรัส Feline Calicivirus (FCV) มีลักษณะเด่นของอาการ คือ ทำให้แมวมีแผลเป็นหลุมที่ลิ้น ช่องปาก และจมูก ซึ่งแตกต่างจากการติดเชื้อชนิดอื่น ๆ ในกลุ่มอาการหวัดแมว (สามารถแยกความแตกต่างได้) อย่างไรก็ตามในแมวที่รับเชื้อ FCV ยังคงแสดงอาการหวัดอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น จาม มีไข้ น้ำตาไหล และมีน้ำมูกไหลบ้าง น้องแมวบางตัวอาจเดินขากะเผลกร่วมด้วย แต่มักไม่มีอาการตาอักเสบเด่นชัด สำหรับเชื้อตัวนี้มีหลายสายพันธุ์มาก บางสายพันธุ์อาจก่ออาการที่รุนแรง ทำให้แมวมีการอักเสบของอวัยวะภายในจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

1.3 โรคหวัดแมว Chlamydophilla felis

เชื้อตัวนี้เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้มีอาการเยื่อบุตาแดงอักเสบเป็นหลัก โดยในระยะแรกมักเป็นข้างใดข้างหนึ่ง ต่อมาจะเป็นทั้ง 2 ข้าง (แต่บางตัวก็อาจเป็นแค่ข้างเดียวไปจนหายเลยก็ได้) อาการที่พบคือ แมวจะหรี่ตาและมีภาวะเยื่อตาบวมแดง แมวที่ป่วยจะมีน้ำตาไหลออกมาเรื่อย ๆ ร่วมกับอาการในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมักไม่รุนแรงเท่ากับการติดเชื้อไวรัส อาการอื่น ๆ ได้แก่ จาม หรือมีน้ำมูกใส ๆ ไหลออกมาบ้าง อย่างไรก็ตามหากแมวมีการติดเชื้อแบคทีเรีย Chlamydophilla felis ร่วมกับเชื้อไวรัสตัวอื่น อาจแสดงอาการรุนแรงขึ้นได้

1.4 โรคหวัดแมว Bordetella bronchiseptica

เชื้อตัวนี้เป็นเชื้อแบคทีเรียที่สามารถติดต่อสู่คนได้ แมวที่เป็นหวัดเนื่องจากได้รับเชื้อชนิดนี้ จะมีอาการค่อนข้างหลากหลายตั้งแต่จาม มีน้ำมูกน้ำตา ไอเล็กน้อย ไปจนถึงไอรุนแรงและเสียชีวิตได้ในบางตัว

2. โรคหัดแมว (Feline Parvovirus Enteritis , Feline Panleukopenia)

นอกจากกลุ่มอาการหวัดแมวที่พูดถึงก่อนหน้านี้ โรคหัดแมวเป็นอีกโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยในฤดูหนาว โรคหัดแมวจะไม่มีอาการทางเดินหายใจใด ๆ หลายคนอาจสับสนกับโรคหัดในสุนัข (Canine Distemper Virus) ที่มีอาการคล้ายหวัดคือ มีน้ำมูกน้ำตาไหล แต่สำหรับโรคหัดแมวนั้นเป็นคนละเรื่องและคนละเชื้อโรคกัน 

3A_โรคหัดแมว และหวัดแมว 2 โรคฮิตหน้าหนาวของเจ้าเหมี่ยว_cats-diseases-flu-parvovirus-winter

โรคหัดแมวเกิดจากอะไร

โรคหัดแมวเป็นเชื้อกลุ่มเดียวกันกับโรคลำไส้อักเสบในสุนัข ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อพาร์โวไวรัสและทำให้สัตว์เกิดความผิดปกติที่ระบบทางเดินอาหาร หัดแมวถือเป็นโรคสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังเพราะมีการระบาดเป็นระยะ ๆ ตลอดทั้งปี แต่มักพบว่าโรคนี้จะระบาดรุนแรงมากขึ้นในช่วงฤดูหนาว สาเหตุเนื่องมาจากอากาศที่แห้งและเย็นทำให้เชื้อคงทนในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น (เชื้อไวรัสชนิดนี้ตามปกติมีความคงทนในสิ่งแวดล้อมที่อุณหภูมิห้องได้นานถึง 1 ปี) จึงทำให้ช่วงปลายปีจนถึงต้นปีเป็นช่วงที่เราจะได้ยินข่าวแมวเสียชีวิตเป็นจำนวนมากอยู่เสมอ

โรคหัดแมวมีอาการอย่างไร

สำหรับอาการของโรคหัดแมว (FPV) ได้แก่

  • ซึม เบื่ออาหาร น้ำลายไหลยืด (เจ้าของหลายท่านอาจเข้าใจผิดว่าแมวโดนวางยา)
  • มีภาวะขาดน้ำ
  • อาเจียนรุนแรง
  • ถ่ายเหลวตั้งแต่ธรรมดาจนถึงถ่ายปนมูกเลือด 
  • มีภาวะของเม็ดเลือดขาวต่ำรุนแรง

*** น้องแมวหลายตัวที่ไม่เคยได้รับวัคซีนอาจเสียชีวิตได้

4 วิธีป้องกันโรคหัดแมวและหวัดแมว

1. ดูแลทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมที่น้องแมวอยู่

4A_โรคหัดแมว และหวัดแมว 2 โรคฮิตหน้าหนาวของเจ้าเหมี่ยว_cats-diseases-flu-parvovirus-winter

เน้นการดูแลชามน้ำ ชามอาหาร กระบะทราย ที่นอน คอนโดแมว รวมถึงอุปกรณ์ของเล่นทุกชิ้นที่น้องแมวชอบ ให้มีความสะอาดอยู่เสมอ การจัดโปรแกรมทำความสะอาดยังช่วยลดปัญหาเชื้อราอีกด้วย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อมีความอับชื้นพบว่าสปอร์ของเชื้อรามักจะแอบซ่อนอยู่ตามสิ่งของเหล่านี้ และทำให้น้องแมวยังคงวนเวียนกับปัญหาโรคผิวหนังอย่างต่อเนื่อง

แนะนำบทความที่น่าสนใจ :

เชื้อราแมวติดคนได้ ลักษณะแมวเป็นเชื้อราดูยังไง

2. เพิ่มการดูแลปกป้องร่างกายน้องแมวจากความหนาวเย็น

5A_โรคหัดแมว และหวัดแมว 2 โรคฮิตหน้าหนาวของเจ้าเหมี่ยว_cats-diseases-flu-parvovirus-winter

การใส่เสื้อให้แมวและการหาผ้าปูรองนอนให้เพิ่มเติม จะช่วยทำให้ร่างกายของน้องมีความอบอุ่นขึ้นในช่วงที่สภาพอากาศเริ่มเย็นลง นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้น้องแมวออกนอกบ้านในช่วงกลางคืน เพราะเป็นช่วงที่อากาศเย็นจัด ซึ่งอาจทำให้ร่างกายของสัตว์ไม่สามารถทนต่อสภาพอากาศได้และเจ็บป่วยในที่สุด

3. เตรียมพร้อมในการสร้างภูมิคุ้มกันให้น้องแมว

6A_โรคหัดแมว และหวัดแมว 2 โรคฮิตหน้าหนาวของเจ้าเหมี่ยว_cats-diseases-flu-parvovirus-winter

การป้องกันโรคด้วยการฉีดวัคซีนให้กับแมว ถือเป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของไม่ควรละเลย เนื่องจากมีโรคบางโรคที่มีความรุนแรงจนถึงขั้นทำให้แมวเสียชีวิตได้ การพาน้องแมวไปฉีดวัคซีนจะเริ่มตั้งแต่อายุ 2 เดือนขึ้นไป ซึ่งในวัคซีนรวมนั้นจะมีทั้งวัคซีนไข้หัดและหวัดแมวรวมอยู่ด้วย ทำให้แมวสามารถที่จะสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคทั้งกลุ่มหวัดและหัดแมวได้

4. จัดการอาหารให้น้องแมวอย่างเหมาะสมทุกช่วงเวลาให้ตรงกับวัย

7A_โรคหัดแมว และหวัดแมว 2 โรคฮิตหน้าหนาวของเจ้าเหมี่ยว_cats-diseases-flu-parvovirus-winter

อากาศเย็นส่งผลต่อความต้องการพลังงานที่มากขึ้น ดังนั้นจำเป็นต้องมีการจัดการโภชนาการให้เหมาะสมกับแมวแต่ละตัวและตามแต่ละช่วงวัยของแมว นอกจากนี้ความต้องการพลังงานยังขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแมว น้องแมวที่ผอมจะมีไขมันสะสมน้อย เวลาอากาศหนาวจะหนาวกว่าแมวปกติ ส่วนน้องแมวที่อ้วน หน้าหนาวจะสามารถทนทานต่อสภาพอากาศได้ดีกว่า ดังนั้นในการจัดการปรับปริมาณอาหารช่วงหน้าหนาว เจ้าของจำเป็นต้องพิจารณารูปร่างและสุขภาพของแมวร่วมด้วย

ดังนั้นช่วงไหนที่อากาศเริ่มจะเย็นหรือเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว เจ้าของจำเป็นต้องดูแลในเรื่องความอบอุ่นให้กับน้องแมวมากขึ้น รวมถึงคอยเฝ้าระวังความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับตัวสัตว์ สิ่งสำคัญคือ ควรมีการจัดโปรแกรมวัคซีนให้กับน้องอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับน้องได้ สำหรับใครที่ทำตามวิธีป้องกันความหนาวเย็นดังกล่าวแล้ว พบว่าน้องแมวยังแสดงอาการผิดปกติบางอย่างให้เห็น เช่น มีน้ำมูกไหล หรือมีพฤติกรรมผิดปกติไป ควรรีบพาน้องแมวไปพบสัตวแพทย์ใกล้บ้าน เพื่อตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาได้ทันท่วงที ซึ่งหากพาน้องไปไวจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาหาย และน้องแมวจะได้ฟื้นตัวง่ายขึ้นค่ะ

หากคุณกำลังมองหาช่องทางในการขยายธุรกิจและเพิ่มยอดขายให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด มาร่วมเป็น Partner กับ Deemmi Pet สิคะ เรามีทีมการตลาดดิจิทัลมืออาชีพ พร้อมให้คำปรึกษาและสนับสนุนคุณอย่างเต็มที่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Line: @deemmipet

Share
Picture of สพ.ญ. ภสดล อนุรักษ์โอฬาร

สพ.ญ. ภสดล อนุรักษ์โอฬาร

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โปรโมชั่น

สอบถามบริการ แอดเลย

บทความแนะนำ

สุนัขหมา
สุนัขหมา
ช็อกโกแลตเป็นพิษสำหรับสุนัข! เรียนรู้อันตราย อาการ และวิธีป้องกันภัยร้ายใกล้ตัวน้องหมา รักษาชีวิตเพื่อนขนฟู
สุนัขหมา
สุนัขหมา
คนรักสัตว์เลี้ยงทั้งหมาและแมวต้องรู้! มาเรียนรู้ความแตกต่างของภาษากายน้องหมา น้องแมว เพื่อความเข้าใจและลดปัญหาการทะเลาะกัน
สุนัขหมา
สุนัขหมา
รู้จัก 5 สายพันธุ์ "สุนัขตำรวจ" หรือ K9 ฮีโร่สี่ขาผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ทั้งฉลาด กล้าหาญ และซื่อสัตย์ พร้อมเผยเบื้องหลังการฝึกฝนสุดโหด กว่าจะมาเป็น K9 ไม่ง่าย!