สัตว์เลี้ยงสุนัขหมาแมว

รู้จักความแตกต่างของเห็บหมัด เหาไร พร้อมเรียนรู้วิธีป้องกันเห็บหมา หมัดแมวด้วยยาแต่ละประเภทที่มีในท้องตลาด เพื่อให้เหมาะกับสัตว์เลี้ยงของเรา
กำจัดเห็บหมัด และ เหาไร อย่างไรให้ได้ผล_deemmi

เห็บหมัด และเหาไร เจ้าปาราสิตตัวร้ายที่นอกจากจะทำให้สัตว์เลี้ยงของเรามีอาการเกาไม่หยุดแล้ว เพื่อน ๆ เคยสงสัยกันไหมคะว่า…เจ้าสัตว์ประหลาดเหล่านี้แตกต่างกันอย่างไร และมันก่อเรื่องอะไรให้กับสัตว์เลี้ยงของเราบ้าง

มารู้จักกับความแตกต่างของเห็บหมัด เหาไร กัน

เห็บ_deemmi

1. เห็บ

เห็บ_deemmi

จะพบได้ในสุนัข เป็นปาราสิตที่ก่อให้เกิดการแพ้น้ำลายบริเวณที่ถูกกัดได้เช่นเดียวกันกับหมัด นอกจากนี้เห็บยังเป็นหนึ่งในพาหะของการนำพยาธิเม็ดเลือดมายังสุนัขอีกด้วย

2. หมัด

หมัด_deemmi

พบได้ทั้งในสุนัขและแมว ปาราสิตตัวนี้ทำให้สัตว์เลี้ยงมีผิวหนังอักเสบ โดยจะมีลักษณะบวมแดงและมีอาการคันมากบริเวณที่อักเสบ ซึ่งคุณหมอมักจะแจ้งกับเจ้าของว่า “ตอนนี้น้องมีปัญหาแพ้น้ำลายหมัดนะคะ” นอกจากอาการคันที่พูดถึงนี้ หมัดยังเป็นพาหะของพยาธิตัวตืดในทางเดินอาหารของสุนัข และเป็นพาหะของพยาธิเม็ดเลือดในแมวอีกด้วย สาเหตุของการติดพยาธิเกิดจากการที่สัตว์เลี้ยงใช้ปากเลียผิวหนังที่อักเสบ หมัดซึ่งอาจจะอยู่บริเวณนั้นและมีพยาธิดังกล่าวในตัวหมัด ก็จะถูกสัตว์เลี้ยงเผลอกัดกินเข้าไป ทำให้ก่อโรคอื่น ๆ ตามมาได้อีก

3. เหา

พบได้ทั้งในสุนัขและแมว ทำให้เกิดอาการคันที่ผิวหนังและทำให้ผิวหนังอักเสบตามมา

4. ไรในหู

ไร_deemmi

พบได้ทั้งในสุนัขและแมว ทำให้เกิดการอักเสบที่ช่องหูส่วนนอกและเกิดการสร้างขี้หูที่มากขึ้น โดยจะพบว่าสัตว์เลี้ยงที่มีไรในหูจะคันและเกาในช่องหูมาก ๆ

5. ไรขี้เรื้อน

เหา_deemmi

ทำให้เกิดอาการคันและอักเสบที่ผิวหนัง ในสุนัขจะพบไรขี้เรื้อนอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดคือ ไรขี้เรื้อนเปียก หรือไรดีโมเด็กซ์ (demodex) และไรขี้เรื้อนแห้ง หรือไรซาร์คอพติค (sarcoptes)  

ไรขี้เรื้อนเปียก มักอาศัยอยู่ในรูขุมขนบริเวณใบหน้า ลำตัว ขา ฝ่าเท้า ส่วนไรขี้เรื้อนแห้งจะชอบอยู่ตามขอบของใบหู ใต้ท้อง ข้อศอกและข้อเท้า การวินิจฉัยว่าเป็นโรคไรชนิดใดนั้น นอกจากคุณหมอจะใช้ตำแหน่งและลักษณะของผิวหนังที่อักเสบเป็นตัวบ่งชี้แล้ว  การขูดตรวจผิวหนังเพื่อดูชนิดของไรผ่านกล้องจุลทรรศน์ ยังเป็นหนึ่งในวิธีการตรวจเช็คได้อีกด้วย

การป้องกันเห็บหมัด เหาไร มียากี่ประเภท อะไรบ้าง

1. ยาที่ใช้หยอดป้องกันเห็บหมัดบริเวณกลางหลัง หรือ Spot on

Frontline_เห็บหมัด_deemmi

ตัวยาจะบรรจุอยู่ในหลอดขนาดเล็ก การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จะต้องเลือกตามน้ำหนักตัวสัตว์และชนิดของสัตว์เลี้ยงเท่านั้น เมื่อหยอดยาลงไปบนตัวสัตว์ ยาจะค่อย ๆ ซึมผ่านจากส่วนของผิวหนังลงไปยังชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ซึ่งตัวยาจะถูกสะสมอยู่ที่ต่อมไขมันบริเวณนี้ แล้วค่อย ๆ ปล่อยออกมาอีกครั้งเพื่อเคลือบอยู่บนเส้นขน ทำให้ปาราสิตภายนอก (เห็บ หมัด เหา และไร) ที่สัมผัสกับเส้นขนได้รับยาและตายในเวลาต่อมา  

สำหรับผลิตภัณฑ์หยอดกลางหลังในท้องตลาด จะมีอยู่ด้วยกันหลายยี่ห้อ แต่ละชนิดจะออกฤทธิ์ในการทำงานที่แตกต่างกัน บางยี่ห้อกำจัดได้ทั้งเห็บ หมัด เหา ไรขี้เรื้อนเปียก ไรขี้เรื้อนแห้ง หรือ ไรในหู  บางยี่ห้อสามารถถ่ายพยาธิตัวกลมบางอย่างในทางเดินอาหารได้ หากเป็นชนิดที่มีผลต่อการกำจัดพยาธิในร่างกาย การออกฤทธิ์ของยาจะเกิดจากการดูดซึมของตัวยาเข้าสู่กระเเสเลือด แล้วไปมีผลทำให้พยาธิตัวกลมบางชนิดในทางเดินอาหารเกิดการอัมพาตขึ้น และถูกขับออกมากับอุจจาระของสัตว์เลี้ยงในที่สุด นอกจากนี้ยังมียาหยอดหลังบางชนิด ที่สามารถป้องกันพยาธิหนอนหัวใจได้อีกด้วย และบางยี่ห้อก็มีคุณสมบัติควบคุมการเพิ่มจำนวนของหมัด ด้วยการทำให้ไข่หมัดฝ่อไม่ฟักเป็นตัว 

ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มยาหยอดหลัง ได้แก่

*** การใช้ยาให้ดูตามคำแนะนำของแต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งบางยี่ห้อจะแนะนำใช้ทุก ๆ 1 เดือน หรือบางชนิดแนะนำให้ใช้ทุก ๆ 3 เดือน

2. ยาที่ใช้กินป้องกันเห็บหมัด หรือปาราสิตภายนอก

Nexguard_spectra_deemmi

ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้จะมีทั้งแบบกินทุก ๆ 1 เดือน และทุก ๆ 3 เดือน แล้วแต่ยี่ห้อในท้องตลาดระบุไว้ โดยการกินจะเหมือนกับการเลือกยาหยอดหลัง คือ เจ้าของต้องเลือกให้ยาตามน้ำหนักตัวสัตว์เพราะตัวยาแต่ละเม็ดจะมีปริมาณของยาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวที่แต่ละผลิตภัณฑ์แนะนำไว้ เมื่อสัตว์กินยาเข้าไป ตัวยาจะถูกดูดซึมผ่านทางเดินอาหารและกลับมาสะสมที่ผิวหนังเหมือนกับการใช้ยาหยอดหลัง ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ปาราสิตภายนอกตายในที่สุด

สำหรับตัวยากลุ่มนี้ หลังจากกินเข้าไปแล้วจะสามารถคงอยู่ในร่างกายสัตว์ประมาณ 12 อาทิตย์ หรือ 3 เดือน หลังจากนั้นยาจะค่อย ๆ หายไปจากตัวสัตว์ และทำให้เหล่าปาราสิตภายนอกกลับมาอีกครั้ง ดังนั้นเจ้าของจึงควรทำการบันทึกวันที่ป้อนยาให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อจะได้ทำการป้อนซ้ำอีกครั้งตามคำแนะนำของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้

ตัวอย่างของยาในกลุ่มนี้ ได้แก่

3. ยาสเปรย์พ่นกำจัดเห็บหมัด และน้ำยาจุ่ม

ไบติคอล spray_deemmi

กลุ่มนี้ปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่นิยมแล้ว เนื่องจากไม่สะดวกในการใช้งาน เพราะต้องพ่นยาให้ทั่วบริเวณผิวหนังของตัวสัตว์ซึ่งทำได้ค่อนข้างยาก หรือบางยี่ห้อยังต้องมีการใช้น้ำยาละลายน้ำก่อน แล้วจึงจุ่มสัตว์ลงไป 

สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Pet,  Pest Spray และ Bayticol  

คำถามที่พบบ่อยเมื่อเจ้าของมีสัตว์เลี้ยงหลายตัว

มีเจ้าของสัตว์เลี้ยงหลายคนมาปรึกษาหมอว่า “จะขอซื้อยาหยอดหลังของสุนัขไซค์ใหญ่มาแบ่งให้กับสุนัขเล็กหลาย ๆ ตัวได้ไหม”   ซึ่งในกรณีนี้หมอไม่แนะนำให้ทำการแบ่งยา หรือนำผลิตภัณฑ์ข้ามชนิดของสัตว์มาใช้ด้วยกัน เช่น การซื้อผลิตภัณฑ์ในสุนัขเล็กมาใช้กับแมว เป็นต้น 

ส่วนในกรณีของยากินนั้นก็เช่นกัน หมอแนะนำให้ใช้ยากินตามขนาดของน้ำหนักตัวสุนัข ไม่แนะนำให้เจ้าของทำการแบ่งยาที่ใช้สำหรับสัตว์น้ำหนักตัวมาก มาให้กับสัตว์ที่น้ำหนักตัวน้อยกว่า เนื่องจากปริมาณยาที่ได้รับอาจคลาดเคลื่อนไปจากปริมาณยาตามน้ำหนักของสัตว์ได้ และอาจเป็นอันตรายกับตัวสัตว์หากได้รับยาเกินขนาด

สุดท้ายที่อยากเตือนเจ้าของสัตว์เลี้ยงทุกท่าน คือ ในปัจจุบันนี้มียาออกมาขายตามท้องตลาดหลายยี่ห้อมาก ๆ บางยี่ห้อเป็นยาเถื่อนที่ไม่ได้มาตราฐาน อย. หากเจ้าของไม่แน่ใจในผลิตภัณฑ์ที่ซื้อมา ให้ปรึกษาสัตวแพทย์ใกล้บ้าน เพื่อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสัตว์เลี้ยงของเราค่ะ  

หากคุณกำลังมองหาช่องทางในการขยายธุรกิจและเพิ่มยอดขายให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด มาร่วมเป็น Partner กับ Deemmi Pet สิคะ เรามีทีมการตลาดดิจิทัลมืออาชีพ พร้อมให้คำปรึกษาและสนับสนุนคุณอย่างเต็มที่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Line: @deemmipet

แหล่งอ้างอิง: Parasite Control

Share
Picture of สพ.ญ. กรกช ศิริวิบูลย์ไชยกุล

สพ.ญ. กรกช ศิริวิบูลย์ไชยกุล

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โปรโมชั่น

สอบถามบริการ แอดเลย

บทความแนะนำ

สุนัขหมา
สุนัขหมา
เช็คลิสต์! อุปกรณ์จำเป็นสำหรับเที่ยวกับสัตว์เลี้ยง กระเป๋าเป้, กระเป๋าล้อลาก, กล่องเดินทาง พร้อมเคล็ดลับเที่ยวสนุก ปลอดภัย
สุนัขหมา
สุนัขหมา
ช็อกโกแลตเป็นพิษสำหรับสุนัข! เรียนรู้อันตราย อาการ และวิธีป้องกันภัยร้ายใกล้ตัวน้องหมา รักษาชีวิตเพื่อนขนฟู
สุนัขหมา
สุนัขหมา
คนรักสัตว์เลี้ยงทั้งหมาและแมวต้องรู้! มาเรียนรู้ความแตกต่างของภาษากายน้องหมา น้องแมว เพื่อความเข้าใจและลดปัญหาการทะเลาะกัน