สัตว์เลี้ยงสุนัขหมาแมว

เคล็ดลับจากสัตวแพทย์ เกี่ยวกับวิธีแยกแยะพฤติกรรมผิดปกติในสัตว์เลี้ยง อธิบายนิสัยหมาหมวที่เกิดจากสายพันธุ์ การเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม พร้อมแนวทางแก้ไขปัญหาที่พบบ่อย
คู่มือลัด สอนวิธีแยกแยะพฤติกรรมผิดปกติในสัตว์เลี้ยง_cats-dogs-abnormal-behavior

เพื่อน ๆ เคยสงสัยกันมั้ยว่า ทำไมน้องหมาหรือน้องแมวแต่ละตัวที่เราเลี้ยงมาถึงมีนิสัยแตกต่างกันมาก ๆ บางตัวดุพร้อมไฝว้ แต่บางตัวก็สุดจะขี้อ้อนเข้าหาคนเก่งมาก ๆ วันนี้คุณหมอตี๋สัตวแพทย์ด้านพฤติกรรมจะมาบอกเคล็ดลับนี้กัน

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมสัตว์เลี้ยง

โดยทั่วไปแล้ว พฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงจะมาจาก 3 องค์ประกอบหลัก ๆ ด้วยกัน ดังนี้

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมสัตว์เลี้ยง_cats-dogs-abnormal-behavior
  1. พันธุกรรม (Genetics) – พฤติกรรมบางอย่างถูกกําหนดมาจากพันธุกรรมของสัตว์แต่ละสายพันธุ์ เช่น สุนัขพันธุ์ล่าสัตว์ อย่างบางแก้ว ไทยหลังอาน และพิทบูล จะมีสัญชาตญาณในการล่าเหยื่อสูง
  2. การเรียนรู้ (Learning) – ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่สัตว์ได้รับมาจะส่งผลต่อพฤติกรรมและนิสัย เช่น น้องหมาที่โดนทําร้ายอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากกว่าน้องหมาที่ดูแลด้วยความรัก
  3. สิ่งแวดล้อม (Environment) – สภาพแวดล้อมและประสบการณ์ในชีวิตประจําวันมีอิทธิพลต่อนิสัยและพฤติกรรม เช่น สุนัขที่ออกกําลังอย่างสม่ำเสมอจะมีความเครียดน้อยกว่าสุนัขที่ถูกเลี้ยงดูอยู่ในบ้าน

ดังนั้น การเข้าใจพฤติกรรมสัตว์เลี้ยง จึงควรพิจารณาทั้ง 3 องค์ประกอบนี้ร่วมกัน ซึ่งจะช่วยให้เรามองเห็นภาพรวมและสาเหตุของพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

รู้ได้อย่างไรพฤติกรรมไหนไม่ปกติในสัตว์เลี้ยง

ก่อนที่หมอจะเล่าถึงรูปแบบความผิดปกติของพฤติกรรมน้องหมาน้องแมว อยากให้เจ้าของได้รู้จักพฤติกรรมปกติของน้องก่อนว่า แต่ละสายพันธุ์มีการแสดงออกทางนิสัยอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้แยกพฤติกรรมที่ผิดปกติของน้องหมาน้องแมวได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

1. พันธุกรรมปกติของสัตว์เลี้ยง (Genetics)

นิสัยปกติของหมา_cats-dogs-abnormal-behavior

นิสัยปกติของหมา

แม้ว่าจะมีการเลี้ยงดูที่เหมือนกันโดยเจ้าของคนเดียวกัน แต่นิสัยโดยพื้นฐานแล้วก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละสายพันธุ์ เช่น

  • สุนัขพันธุ์รีทรีฟเวอร์ (Retriever) เช่น พันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ หรือลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ จะมีนิสัยรักสนุก ร่าเริง และชอบวิ่งเล่น รวมถึงน้อง ๆ จะชอบเล่นน้ําและว่ายน้ําเป็นพิเศษอีกด้วย
  • สุนัขพันธุ์ขนาดเล็ก (Toy Breed) เช่น พันธุ์พุดเดิ้ล หรือชิวาวา มักจะติดเจ้าของเอามาก ๆ รวมถึงมีความขี้อ้อนสูง และชอบกิจกรรมที่มีเจ้าของร่วมเล่นด้วย
  • สุนัขพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้ เจ้าตูบตัวขาว ขนยาวน่ากอด มักมีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มีความเป็นมิตรและรักเด็ก
  • สุนัขพันธุ์เยอรมันเชพเพิร์ด โดเบอร์แมน และร็อตไวเลอร์ จะมีนิสัยที่เงียบ และอาจมีความก้าวร้าวในบางสถานการณ์
  • สุนัขพันธุ์พิทบูลล์ มักแสดงความก้าวร้าวต่อสุนัขตัวอื่น ๆ แต่ไม่ค่อยก้าวร้าวกับเจ้าของที่ให้ความรัก

ดังนั้นพฤติกรรมปกติของสุนัขแต่ละสายพันธุ์ จะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งเจ้าของควรศึกษาให้เข้าใจพฤติกรรมปกติของสุนัขแต่ละพันธุ์ เพื่อสามารถแยกแยะพฤติกรรมผิดปกติได้

นิสัยปกติของแมว

นิสัยปกติของแมว_cats-dogs-abnormal-behavior

สําหรับพฤติกรรมและนิสัยของเจ้าเหมียวนั้น จะไม่สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจนเท่ากับน้องหมา หากลองเปรียบเทียบกันระหว่างแมวไทยกับแมวเปอร์เซีย เราจะพบว่า ทั้ง 2 สายพันธุ์จะมีลักษณะนิสัยที่ทั้งเหมือนและต่างกัน เช่น ชอบความเป็นส่วนตัวหรือรักสันโดษเหมือนกัน แต่แมวไทยจะมีความขี้อ้อนหรือขี้เล่นมากกว่าแมวเปอร์เซีย รวมทั้งมีสัญชาตญาณการล่าเหยื่อที่สูงกว่า จึงมักมีกิจกรรมและความกระตือรือล้นต่อสิ่งรอบตัวมากกว่าแมวเปอร์เซีย

2. การเรียนรู้จากประสบการณ์ของสัตว์เลี้ยง (Learning)

การเรียนรู้ของน้องหมา

สุนัขก็เหมือนเด็กเล็ก การเรียนรู้ของพวกเค้าจะเกิดขึ้นผ่านประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับมา เช่น

  • หากน้อง ๆ ถูกทําโทษหรือทําร้ายด้วยการใช้ไม้ตีเป็นประจํา เพื่อเป็นการป้องกันตัวเองจากการโดนทําร้าย น้องหมาอาจจะแสดงอาการดุร้ายมากขึ้น หรืออาจจะหวาดกลัววิ่งไปซ่อน ในทุกครั้งที่เห็นใครถือไม้เดินเข้ามาหา
  • น้องหมาอาศัยอยู่ข้างถนน มีรถยนต์ขับผ่านไปมา หรืออยู่ในที่ที่มีการจราจรพลุกพล่าน มักมีความสามารถในการมอง และหลบหลีกรถบนท้องถนนได้ดีกว่าน้องหมาที่อาศัยอยู่แต่ในบ้าน ซึ่งมีประสบการณ์ทางด้านนี้น้อยกว่า จึงมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุโดนรถชนได้มากกว่า
  • บางครั้งจะพบน้องหมาเพศผู้บางตัวนั่งปัสสาวะเหมือนกับเพศเมีย ซึ่งเกิดจากบ้านที่เลี้ยงดูไม่มีสุนัขเพศผู้อยู่เลย มีแต่เพศเมีย หรือไม่เคยเห็นเพศผู้ตัวอื่น ๆ ยกขาปัสสาวะ จึงไม่เกิดการเรียนรู้

ดังนั้นหากเราอยากให้น้องหมามีนิสัยและพฤติกรรมอย่างไร ก็สามารถทำได้ ด้วยการสอนน้องให้เรียนรู้ในสิ่งที่ถูกต้อง หรืออาจพาน้องไปยังโรงเรียนฝึกสอน เช่น ศูนย์ฝึกสุนัขครูโหน่ง K9 หาดใหญ่

การเรียนรู้ของน้องแมว

แมวมีความสามารถในการเรียนรู้สูงโดยเฉพาะในช่วงที่ยังเป็นลูกแมว พฤติกรรมการเล่นหรือการล่าเหยื่อที่แมวได้รับประสบการณ์ในช่วงนี้จะถูกจดจําและกลายเป็นนิสัยเมื่อโตขึ้น ตัวอย่างพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ของแมว

  • แมวที่ชอบไล่กัดขาและมือเจ้าของ มักเกิดจากเจ้าของชอบเล่นกับแมวด้วยการใช้เท้าและมือตั้งแต่น้องยังเล็ก ทำให้น้องเข้าใจว่าการไล่กัดเป็นการแสดงความรัก
  • แมวที่ชอบวิ่งงับหางของตัวเอง เป็นเพราะเคยเล่นแบบนั้นบ่อย ๆ ในวัยเด็กกับเพื่อน ๆ 
  • แมวที่ชอบขโมยอาหารจากจานข้าว เป็นเพราะเคยได้รับรางวัลโดยการให้อาหารจากจานเมื่อทำถูกใจเจ้าของ

ดังนั้นหากเราต้องการฝึกนิสัยของน้องแมว ต้องเริ่มทำตั้งแต่ในช่วงยังเล็ก ซึ่งเป็นวัยที่มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาพฤติกรรมเมื่อโตขึ้น

3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่อพฤติกรรมสัตว์เลี้ยง (Environment)

อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่อพฤติกรรมสัตว์เลี้ยง (Environment)

สภาพแวดล้อมเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ส่งผลกระทบต่อการแสดงพฤติกรรมแตกต่างกันไปของน้องหมาน้องแมว เช่น

  • สุนัขที่มีการออกกําลังและเล่นกับเจ้าของอย่างสม่ำเสมอ จะมีความเครียดน้อยกว่าสุนัขที่เลี้ยงแบบขังกรงหรือถูกจํากัดบริเวณ
  • สุนัขที่ถูกจํากัดบริเวณอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าวเพิ่มขึ้นเนื่องจากความเครียด
  • สุนัขที่อยู่ในบ้านมีรั้วรอบขอบชิดอาจมีนิสัยหวงพื้นที่มากขึ้น
  •  

วิธีแยกแยะความผิดปกติทางพฤติกรรมสัตว์เลี้ยง

ความไม่ปกติทางพฤติกรรมของน้องหมาน้องแมวมีได้หลายแบบด้วยกัน แต่ก่อนอื่นต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่าง ปัญหาทางพฤติกรรม (Behavior problem) และ พฤติกรรมที่เป็นปัญหา (Problem behavior) ซึ่งแตกต่างกันในนิยามความหมาย

How to differentiate behavior problems in pets

ปัญหาทางพฤติกรรม (Behavior problem)

เป็นกลุ่มพฤติกรรมที่สุนัขหรือแมวแสดงออกมา และแตกต่างจากพฤติกรรมปกติของพวกพ้อง ถือเป็นปัญหาพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงโดยตรง เช่น การไล่กัดขาเจ้าของในน้องแมวบางตัว ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่พบในแมวฝูงเดียวกัน

พฤติกรรมที่เป็นปัญหา (Problem behavior)

เป็นกลุ่มพฤติกรรมสัตว์เลี้ยงที่ไม่ใช่ความผิดปกติ แต่เป็นสิ่งที่เจ้าของสัตว์ไม่ชอบหรือต้องการ หรือเรียกอีกอย่างว่า น้องหมาน้องแมวทํานิสัยที่เจ้าของไม่พอใจนั่นเอง

ตัวอย่างปัญหาพฤติกรรมที่พบได้บ่อยในสัตว์เลี้ยง

  • ปัญหาความก้าวร้าวหรือดุร้าย ซึ่งมีหลายรูปแบบ และมักพบการแสดงออกจากสาเหตุที่แตกต่างกัน
  • ปัญหาการกลัวเสียงดัง เช่น เสียงฟ้าร้อง ฟ้าผ่า พลุ ประทัด
  • ปัญหาการกินสิ่งแปลกปลอม เช่น เข็ม ลูกบอล ของเล่น หรือกินอุจจาระและสิ่งสกปรก
  • ปัญหาการหลงลืมในสุนัขแก่ชรา
  • ปัญหาการกัดทําลายสิ่งของ เฟอร์นิเจอร์ รองเท้า
  • ปัญหาการเห่าหอน ส่งเสียงดังตลอดเวลา
  • ปัญหาการทําเครื่องหมาย หรือ Spraying ปัสสาวะไม่เป็นที่เป็นทาง
  • ปัญหาการกัดแทะขาตัวเอง หรือเลียขนตัวเองมากเกินไป

สาเหตุอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อปัญหาพฤติกรรม

Other factors affect pet behaviors

นอกจาก 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ พันธุกรรม การเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสัตว์เลี้ยงตามที่ได้กล่าวมาแล้ว  อายุของสัตว์เลี้ยงก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสําคัญที่มีอิทธิพลต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมได้เช่นกัน

  • ในช่วงวัยรุ่น (6-18 เดือน) สุนัขและแมวจะมีพฤติกรรมชอบเล่นสนุกสนาน มีพละกําลังมาก และอาจแสดงความก้าวร้าวในระดับหนึ่ง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ
  • ในช่วงสูงอายุมากกว่า 8 ปีขึ้นไป สัตว์เลี้ยงอาจเริ่มมีปัญหาสุขภาพ เช่น เป็นโรคข้ออักเสบ ทําให้ไวต่อการสัมผัสและแสดงปฏิกิริยาก้าวร้าว

นอกจากนี้น้องหมาน้องแมวที่เคยถูกทำร้ายร่างกายมาก่อน อาจแสดงปฏิกิริยาตื่นตระหนกหรือก้าวร้าวได้ง่ายมากขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าเดิม เช่น ก้อนหิน หรือไม้เป็นต้น ดังนั้นก่อนที่เราจะสรุปว่าสัตว์เลี้ยงมีพฤติกรรมผิดปกติ จำเป็นต้องพิจารณาในส่วนของอายุ และประวัติหรือประสบการณ์ที่น้องเคยได้รับมาอีกด้วย

คําแนะนําเมื่อพบปัญหาพฤติกรรมในสัตว์เลี้ยง

หากพบว่าสัตว์เลี้ยงมีความผิดปกติทางพฤติกรรมเกิดขึ้นจริงตามที่หมอได้เล่ามา แนะนําให้พาน้องไปพบสัตวแพทย์เพื่อปรึกษาและวินิจฉัยโดยละเอียด

การพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์ จะช่วยให้ได้รับการวินิจฉัยอาการและหาสาเหตุของปัญหาอย่างถูกต้อง รวมถึงได้รับคําแนะนําการรักษาและฝึกฝนพฤติกรรมที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันไม่ให้ปัญหาลุกลามรุนแรงขึ้น ดังนั้นการพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดเมื่อพบปัญหาพฤติกรรมผิดปกติ

หากคุณกำลังมองหาช่องทางในการขยายธุรกิจและเพิ่มยอดขายให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด มาร่วมเป็น Partner กับ Deemmi Pet สิคะ เรามีทีมการตลาดดิจิทัลมืออาชีพ พร้อมให้คำปรึกษาและสนับสนุนคุณอย่างเต็มที่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Line: @deemmipet

Share
Picture of น.สพ.มนต์ชัย เล็กเจริญวงศ์

น.สพ.มนต์ชัย เล็กเจริญวงศ์

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โปรโมชั่น

สอบถามบริการ แอดเลย

บทความแนะนำ

สุนัขหมาแมว
สุนัขหมาแมว
ปรับพฤติกรรมสัตว์เลี้ยงให้เชื่อฟัง ว่านอนสอนง่าย ค้นหาสถานที่ฝึกสัตว์เลี้ยงใกล้คุณผ่าน Deemmi Pet พร้อมคำแนะนำและโปรโมชันสุดคุ้ม!
สุนัขหมาแมว
สุนัขหมาแมว
ให้น้องหมามีร่างกายที่ฟิตปั๋ง ผ่านการวิ่งเล่น กระโดดโลดเต้น หรือเดินเล่นชิลล์ ๆ ในสวนโล่งกว้าง ที่จะช่วยให้น้องหมามีสุขภาพดีและลดความเครียดได้ มาค้นหาสถานที่เจ๋ง ๆ และบริการที่ตอบโจทย์น้องหมายแต่ละสายพันธุ์ไปกับ Pet Deemmi กัน
สุนัขหมาแมว
สุนัขหมาแมว
จบปัญหาที่ต้องวิ่งวุ่นหาสถานที่สำหรับสัตว์เลี้ยงตัวโปรด ไม่ว่าจะเป็น โรงแรมที่หมาแมวเข้าพักได้ คาเฟ่ Pet Friendly หรือคลินิก/โรงพยาบาลสัตว์ที่เปิด 24 ชั่วโมง Deemmi Pet เราไม่ได้เป็นแค่เว็บไซต์ แต่เป็นเหมือน "แผนที่วิเศษ" ที่ช่วยให้คุณค้นหาทุกสิ่งที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงได้แบบง่าย ๆ เพราะเราเข้าใจว่าสัตว์เลี้ยงไม่ใช่แค่สัตว์ แต่เป็นสมาชิกครอบครัวที่เรารักสุดหัวใจ